เมนู

7. สันตุฏฐิสูตร


ว่าด้วยสันโดษด้วยปัจจัย 4


[27] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัย 4 อย่างนี้เป็นของเล็กน้อยด้วย
หาง่ายด้วย ไม่มีโทษด้วย ปัจจัย 4 อย่างคืออะไร คือ ผ้าบังสุกุล อาหาร
ที่ได้มาโดยเที่ยวบิณฑบาต เสนาสนะโคนไม้ ยาน้ำมูตรเน่า นี้แล
ปัจจัย 4 อย่าง เป็นของเล็กน้อยด้วย หาง่ายด้วย ไม่มีโทษด้วย เมื่อภิกษุ
เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยเล็กน้อยและหาง่าย เรากล่าวความสันโดษของเธอนี้ว่า
เป็นองค์แห่งความเป็นสมณะอย่างหนึ่ง.
ภิกษุผู้สันโดษด้วยปัจจัยอันหาโทษ
มิได้ เล็กน้อยและหาง่าย ย่อมไม่มีความ
ทุกข์ใจเพราะเรื่องเสนาสนะ จีวร ข้าว น้ำ
จะไปทิศใดก็ไม่เดือดร้อน.
ธรรมเหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ สมควรแก่ความเป็นสมณะ ธรรม
เหล่านั้นเป็นอันภิกษุผู้สันโดษ ผู้ไม่ประ-
มาทนั้นกำหนดไว้ได้แล้ว.

จบสันตุฏฐิสูตรที่ 7

อรรถกถาสันตุฏฐิสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสันตุฏฐิสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อปฺปานิ แปลว่า ของเล็กน้อย. บทว่า สุลภานิ แปลว่า
พึงได้โดยง่าย คือใครก็สามารถจะได้ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง. บทว่า อนวชฺชานิ
แปลว่า ไม่มีโทษ. บทว่า ปิณฺฑิยาโลปโภชนํ ได้แก่ อาหารที่เที่ยวไป
ด้วยกำลังปลีแข้งได้นาสักว่าเป็นคำข้าว. บทว่า ปูติมุตฺตํ ได้แก่ น้ำมูตรอย่างใด
อย่างหนึ่ง. กายแม้มีผิวดังทอง เขาก็เรียกว่ากายเน่าฉันใด แม้น้ำมูตรที่
ใหม่เอี่ยม เขาก็เรียกว่าน้ำมูตรเน่าฉันนั้น. บทว่า วิฆาโต ได้แก่ ความ
คับแค้น อธิบายว่า จิตไม่มีทุกข์. บทว่า ทิสา น ปฏิหญฺญติ ความว่า
ภิกษุใดเกิดความคิดขึ้นว่า เราไปที่ชื่อโน้น จักได้จีวรเป็นต้น จิตของภิกษุนั้น
ชื่อว่า ย่อมเดือดร้อนตลอดทิศ. ภิกษุใด ย่อมไม่เกิดความคิดอย่างนั้น จิต
ของภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่เดือดร้อนตลอดทิศ. บทว่า ธมฺมา คือปฏิบัติติธรรม.
บทว่า สามญฺญสฺสานุโลมิกา ได้แก่ สมควรแก่สมณธรรม. บทว่า
อธิคฺคหิตา ความว่า ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นอันภิกษุผู้มีจิตสันโดษ
กำหนดไว้ อยู่แต่ภายใน ไม่ไปภายนอก.
จบอรรถกถาสันตุฏฐิสูตรที่ 7